วันจันทร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

Green Technology : เทคโนโลยีไอทีเพื่อสิ่งแวดล้อม



Green Technologies หรือเทคโนโลยีไอทีเพื่อสิ่งแวดล้อมนั้น สืบเนื่องมาจากในปัจจุบันได้มีการตื่นตัวกันอย่างมากของคนทั้งโลก ในเรื่องของการรักษาสภาพแวดล้อมให้แก่โลก เพราะในปัจจุบันคนทั้งโลกต้องเผชิญกับสภาวะโลกร้อนและความแปรปรวนของลม ฟ้า อากาศ ซึ่งทั้งหมดนั้นก็เกิดมาจากผลการกระทำของมนุษย์เอง
ไม่ว่าจะเป็นในอดีตหรือปัจจุบันก็ตาม ดังนั้นลองมาดูกันว่าเทคโนโลยีด้านระบบไอทีนั้น มีเทคโนโลยีไหนหรือเทคโนโลยีของใครบ้างที่ให้ความสำคัญกับการรักษาสภาพสิ่งแวดล้อมของโลก และรายละเอียดของการรักษาสภาพแวดล้อมภายในเทคโนโลยีนั้น ๆ มีอะไรบ้าง

รู้จักกับ Green Technology

พอพูดถึงคำว่า เทคโนโลยี เราก็มักจะนึกถึงแอพพลิเคชันที่ช่วยสร้างชิ้นงาน ความรู้ คำว่า Green Technology หรือเทคโนโลยีสีเขียวเป็นวิวัฒนาการ วิธีการและอุปกรณ์เครื่องมือเพื่อใช้ในการจัดการแก้ไขปรับแต่งให้การทำงานของผลิตภัณฑ์เพื่อไม่ให้เกิดปัญหา ผลกระทบจากการใช้งานของอุปกรณ์ เรียกว่าจะช่วยให้การทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ สะอาดขึ้น ซึ่งเป้าหมายของการพัฒนานั้นได้เติบโตไปยังสิ่งต่างๆ ได้แก่

* การสนับสนุน จะมีการประชุมเพื่อสร้างสังคมในอนาคตโดยปราศจากการเสียหาย การทำลายทรัพยากรธรรมชาติ

* การออกแบบจากแหล่งกำเนิดไปยังแหล่งกำเนิด การใช้งานของสิ่งต่างๆ ก็จะเป็นวัฏจักรของผลิตภัณฑ์ โดยการสร้างผลิตภัณฑ์ให้สามารถนำกลับมาใช้งานใหม่ได้

* การลดข้อมูล เป็นการลดทิ้งและมลพิษ โดยการเปลี่ยนรูปแบบของการนำไปสร้างผลิตภัณฑ์และการบริโภค

* พัฒนาสิ่งใหม่ๆ เป็นการพัฒนาเพื่อเทคโนโลยี ไม่ว่าจะเป็นการนำซากสัตว์มาเป็นเชื้อเพลิงหรือทางเคมี แต่ก็อาจทำให้สุขภาพและสภาพแวดล้อมเสียหายได้

* ความสามารถในการดำรงชีวิต สร้างศูนย์กลางทางด้านเศรษฐศาสตร์ให้เหมาะสมกับเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม ความเร็วในการพัฒนาและสร้างอาชีพใหม่เพื่อปกป้องโลก

* พลังงาน ต้องรับรู้ข่าวสารทางด้านเทคโนโลยีสีเขียวรวมไปถึงการพัฒนาของเชื้อเพลิง ความหมายใหม่ของการกำเนิดพลังงาน และผลของพลังงาน

* สภาพสิ่งแวดล้อม นำไปสู่การค้นหาสำหรับผลิตภัณฑ์ใหม่ เพื่อค้นหาสิ่งที่บรรลุและวิธีที่ทำให้เกิดการกระทบกับสภาพแวดล้อมน้อยที่สุด

เทคโนโลยีด้านระบบไอทีนั้นมีเทคโนโลยีไหน หรือเทคโนโลยีของใครที่ให้ความสำคัญกับการรักษาสภาพแวดล้อมของโลก และรายละเอียดของการรักษาสภาพแวดล้อมภายในเทคโนโลยีนั้นๆ มีอะไรบ้าง

Green Computer

Green Computer เครื่องคอมพิวเตอร์ที่รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรอื่นๆ ประกอบไปด้วยพลังงานหน่วยประมวลผลศูนย์กลางที่มีประสิทธิภาพ (ซีพียู) เครื่องเซิร์ฟเวอร์ และอุปกรณ์เสริมเพื่อลดการทำงานของทรัพยากรและการจัดการเรื่องการสิ้นเปลืองของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Waste)

นานมาแล้วที่เราได้มีการริเริ่มการใช้ Green Computing ในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยการติดป้ายเป็นรูปดาวพลังงานหรือ Energy Star ซึ่งนั่นเป็นการริเริ่ม Environmental Protection Agency (EPA) การป้องกันทางด้านสิ่งแวดล้อมในปี ค.ศ. 1992 เพื่อโฆษณาโดยหวังให้อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ต่างๆ ได้นำไปใช้งานด้วยการติดลาเบล Energy Star โดยเฉพาะเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก เครื่องคอมพิวเตอร์ และหน้าจอ ซึ่งได้ถูกนำไปใช้งานทวีปยุโรปและเอเชีย ซึ่งเป็นแนวทางให้มีการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์แบบนี้ เพื่อลดปัญหาที่เกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งผู้ที่ใช้งานคอมพิวเตอร์ก็อย่างเช่น ผู้ใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์และทางด้านธุรกิจตัวอย่างการลดพลังงาน ได้แก่

* ให้ซีพียูและอุปกรณ์เสริมต่างๆ ที่ไม่ได้ใช้งาน ลดการใช้พลังงานลง

* ลดพลังงานและการจ่ายไปให้แก่อุปกรณ์เสริมที่ไม่ได้ใช้งานนาน เช่น เครื่องพิมพ์เลเซอร์

* ให้หันมาใช้จอภาพหรือมอนิเตอร์ในแบบ Liquid-Crystal-Display (LCD) แทนการใช้มอนิเตอร์ Cathode-Ray-Tube (CRT)

* ถ้าเป็นไปได้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กมากกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์เดสก์ทอป เพราะเครื่องคอมพิวเตอร์เดสก์ทอปจะกินไฟและใช้พลังงานมากกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก

* ใช้ฟีเจอร์ Power-Management ให้ปิดการทำงานของฮาร์ดดิสก์ และหน้าจอมอนิเตอร์หากไม่ได้มีการใช้งานติดต่อกันนานๆ หลายนาที

* ใช้กระดาษให้น้อยที่สุด และถ้าเป็นไปได้ก็ให้นำกระดาษกลับมาใช้งานหมุนเวียนอีก

* ลดการใช้พลังงานกับเครื่องคอมพิวเตอร์เวิร์กสเตชัน เซิร์ฟเวอร์ เน็ตเวิร์กและข้อมูลส่วนกลาง

Green Data Center

ศูนย์กลางข้อมูลสีเขียว คือ การใช้งานทางด้านการจัดเก็บข้อมูล การจัดการทางด้านข้อมูลและการแพร่กระจายของข้อมูลที่จัดเก็บไว้ในเครื่องจักร อุปกรณ์ไฟฟ้าและระบบคอมพิวเตอร์ที่ออกแบบมาเพื่อให้พลังงานสูงสุดแต่มีผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมน้อยสุด ทั้งการออกแบบการคำนวณจะเน้นศูนย์กลางข้อมูลสีเขียวรวมถึงเทคโนโลยี

ขั้นสูงและยุทธศาสตร์ต่างๆ ตัวอย่างเช่น

* ใช้อุปกรณ์ที่แผ่กระจายแสงได้น้อยๆ อย่างการปูพรม

* การออกแบบที่สนับสนุนสภาพแวดล้อม

* ลดการสิ้นเปลืองโดยการนำกลับมาใช้งานอีก

สภาพแวดล้อมที่ได้รับผลกระทบจากการใช้งานระบบไอที

เชื่อหรือไม่ว่า เครื่องคอมพิวเตอร์ที่เราใช้งานอยู่นี้ก่อให้เกิดปัญหาต่อสภาพแวดล้อม ซึ่งเมื่อใช้งานอยู่ก็คงไม่รบกวนโลกมาก แต่พอเครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานช้าลง เราก็อัพเกรด จวบจนวันหนึ่งที่ไม่สามารถอัพเกรดได้ก็ต้องเอาไปขายเป็นเศษเหล็ก ซึ่งก็ได้เงินมาไม่กี่บาท แต่ขยะคอมพิวเตอร์ ซึ่งอุปกรณ์บางอย่างก็ไม่สามารถย่อยสลายได้ แถมยังก่อมลพิษทางด้านอากาศ สิ่งแวดล้อมให้แก่โลกอีกด้วย เพราะในส่วนประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์เรานั้น ก็มีทั้งที่ประกอบไปด้วย พลาสติก อะลูมิเนียม สังกะสี และอื่นๆ

ปัจจุบันมีผู้ใช้งานได้คิดประดิษฐ์นำเอาไม้ไผ่เข้ามาเป็นส่วนประกอบกับอุปกรณ์เครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น คีย์บอร์ด หน้าจอมอนิเตอร์ เมาส์ หรือเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก หรือเดี๋ยวนี้ถุงพลาสติกที่เราใส่ของก็ย่อยสลายยาก จนบางห้างสรรพสินค้ารณรงค์ให้ใช้ถุงผ้าแทนการใช้ถุงพลาสติกเพื่อลดการเปิดปัญหาโลกร้อนหลายคนกำลังรณรงค์ไม่ให้โลกร้อนเกิดขึ้นในอนาคต โดยให้ทุกคนบนโลกช่วยกันแก้ปัญหา และร่วมมือทั้งการปิดแอร์เมื่อไม่ใช้งาน

ดับเครื่องรถยนต์เมื่อต้องจอดรอเป็นเวลานานๆ และอีกหลายร้อยวิธีที่ช่วยให้โลกของเราอยู่ร่วมกับเราไปได้อีกนาน ต้องช่วยกันตั้งแต่วันนี้

เอกสารอ้างอิง

www.green-technology.org
www.greentechnology.com

วันพฤหัสบดีที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2553

10 อันตรายทลายโลก จากเทคโนโลยี

Share


เทคโนโลยี



10 อันตรายทลายโลก จากเทคโนโลยี (มติชน)
โดย ไพรัตน์ พงศ์พานิชย์ pairat@matichon.co.th

เทคโนโลยีมีคุณประโยชน์ก็ต้องมีอันตรายอยู่ด้วยอย่างแน่นอน แต่ผมไม่คิดว่าจะมีใครนั่งใคร่ครวญถึงอันตรายของเทคโนโลยีได้ถี่ถ้วน และเป็นลบได้มากเท่ากับกระทาชายนายริชาร์ด ฮอร์น มาก่อน

ริชาร์ด ฮอร์น เป็นนักเขียนชาวอังกฤษครับ หนังสือเล่มล่าสุดของแกชื่อ "เอ อิส ฟอร์ อาร์มาเกดดอน" ที่รวบรวมเอาเรื่องอันตราย ๆ ที่ "อาจ" บังเกิดขึ้นจากพัฒนาการทางเทคโนโลยีไว้มากมาย ผมเลือกเอามาเล่าสู่กันฟังแค่ 10 อย่าง

เอาแบบที่เป็นอันตรายชนิดสามารถทำร้ายหรือทำลายโลกได้ทั้งโลกได้นั่นแหละ

1.แฮกเกอร์

อย่างที่เรารู้กัน แฮกเกอร์มีทั้งดีทั้งร้าย ทั้งพวก "ไวท์ แฮท" แล้วก็พวก "แบล๊ค แฮท" เจ้าพวกกลุ่มหลังนี่แหละครับที่ ริชาร์ด ฮอร์น บอกว่า อันตรายสุดสุด เคยอวดฝีมือในการเจาะระบบคอมพ์ของหน่วยงานอย่างเพนตากอน, ระบบเตือนภัยด้านกลาโหมแห่งชาติ, นาซา, แบงก์ ออฟ อเมริกา, ซิตี้กรุ๊ป, ฐานทัพอากาศกริฟฟิธ, สถาบันวิจัยนิวเคลียร์แห่งชาติเกาหลี มาแล้ว และอาจจะทำได้อีกในอนาคต น่าสนใจนะครับ ที่บริษัทที่โดนเจาะระบบบ่อยที่สุดก็คือ ไมโครซอฟท์ นั่นเอง

หายนะระดับทลายโลกอาจมาเยือนได้ ถ้าพวกนี้เจาะเข้าไปในระบบกลาโหมของประเทศที่มีอาวุธนิวเคลียร์อยู่ในครอบครอง จนอาจทำให้เกิดความเข้าใจไขว้เขวว่ามีการโจมตีด้วยอาวุธนิวเคลียร์ขึ้น หลังจากนั้น ทั้งโลกก็อาจตกอยู่ในสงครามเทอร์โมนิวเคลียร์ได้ง่าย ๆ

2.ปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ)

นักวิทยาศาสตร์และนักค้นคว้าวิจัยของหลายประเทศพยายามอย่างมากที่จะพัฒนาคอมพิวเตอร์ให้ "คิด" เองได้ ริชาร์ด ฮอร์น แสดงความกังขาเอาไว้ว่า อะไรจะเกิดขึ้นถ้ามัน "คิด" และ "ตระหนักรู้ในการมีอยู่" ของตัวมัน และระบบของมันที่ถักทอเป็นเครือข่ายโยงใยไปทั่วโลก ความกระหายใคร่รู้ไม่รู้จักจบสิ้นของมัน อาจทำให้ทั้งประวัติศาสตร์และอนาคตของทั้งคนและเครื่องจักรตกอยู่ในกำมือของคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าหากมันรับรู้ว่ามนุษย์เราคิดต่อมันอย่างไรและเป็นปฏิปักษ์กับพวกมันแค่ไหน (เป็นนิยายไปหน่อยไหมเนี่ย?)

3.ไวรัสจากห้องทดลอง

อันนี้ผมค่อนข้างเห็นด้วยเลยทีเดียว ริชาร์ด ฮอร์น บอกว่า ต้องมีสักวันที่นักวิจัยในห้องทดลองเพื่อหาหนทางต่อต้านหรือฆ่าไวรัส ทำอะไรสักอย่างผิดพลาดโดยอุบัติเหตุ ส่งผลให้ไวรัสในห้องทดลองออกมาอาละวาดในสิ่งแวดล้อมทั่วไป

ที่น่าสนใจก็คือ ตอนนี้นักวิจัยกำลังทดลองพัฒนาไวรัสขึ้นมากลุ่มหนึ่งเพื่อให้ทำหน้าที่ "รักษา" (ด้วยการ "ทำลาย") เซลล์มะเร็งในร่างกายมนุษย์ คำถามที่เกิดขึ้นในเวลานี้ก็คือว่า เมื่อมันทำหน้าที่ของมัน (กินเซลล์มะเร็ง) เสร็จแล้ว ทำอย่างไรถึงจะ "หยุด" มันได้?

4.สเต็มเซลล์

หรือที่เราเรียกกันว่า เซลล์ต้นกำเนิด ซึ่งเป็นเทคโนโลยีชีวภาพที่โด่งดังมากที่สุดในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา เป้าหมายใน "อุดมคติ" ก็คือว่า คนเราสามารถบังคับเซลล์ต้นกำเนิดให้พัฒนาไปเป็นอวัยวะอะไรก็ได้ เพื่อนำมาใช้ "ทดแทน" ของเดิมที่พิกลพิการเสียหาย ข้อกังขาของ ริชาร์ด ฮอร์น ก็คือ ถ้าเกิดเราไม่คิด "ทดแทน" แต่อยาก "เพิ่ม" ล่ะ? เป็นไปได้หรือไม่ที่ว่า มนุษย์ในยุคนี้จะสูญสิ้นไปกลายเป็น มนุษย์ 10 หน้า 20 แขนในยุคหน้า?

5.หุ่นยนต์

ลองนึกถึงหุ่นยนต์กบฏในหนัง "ไอ-โรบ็อท" แล้วกันครับ ริชาร์ด ฮอร์น คิดคล้าย ๆ อย่างนั้น แต่เขาบอกด้วยว่า คงอีกนานที่หุ่นจะ "คิด" เองได้ และก้าวข้ามข้อจำกัดเรื่องพลังงานที่ตอนนี้ยังเป็น แบตเตอรี่อยู่ได้

6.อินเทอร์เน็ต

น่าคิดนะครับที่ ริชาร์ด ฮอร์น เขาบอกว่า อินเอร์เน็ตนำอันตรายหลาย ๆ อย่างมาให้คนเรามากกว่าที่หลายคนตระหนัก ตั้งแต่การถูกขโมยอัตลักษณ์ ไปจนถึงการถูกหลอกลวงเสียทั้งเงินเสียทั้งชีวิต แต่หายนะจริง ๆ ในความคิดของเขาก็คือ โลกนี้จะเป็นอย่างไรถ้าหากมี "ไอ้โรคจิต" คนไหนสักคนยึดเอาระบบอินเทอร์เน็ตทั้งระบบไว้ได้?

7.อาวุธนิวเคลียร์

อันนี้เห็นด้วย 100 เปอร์เซ็นต์ แต่อยากเพิ่มเติมว่า โลกเราเคยเฉียด ๆ ใกล้สงครามนิวเคลียร์มาแล้ว 3 ครั้ง (หลังการระเบิดที่ฮิโรชิม่าและนางาซากิ) ครั้งแรกเมื่อปี 1962 ที่เรียกกันว่า วิกฤตคิวบา ครั้งที่ 2 เมื่อปี 1983 ที่ระบบเตือนภัยล่วงหน้าของสหภาพโซเวียตตรวจจับกลุ่มเมฆรูปดอกเห็ดได้ แล้วเข้าใจผิดว่าเป็นควันจากระเบิดนิวเคลียร์ หนสุดท้ายเกิดในปีเดียวกัน เมื่อโซเวียตเข้าใจผิดว่าการซ้อมรบของนาโต้คือการโจมตีจริง ๆ

8.คอมพิวเตอร์ เมลท์ดาวน์

ถ้าระบบคอมพิวเตอร์ทั้งโลกหรือครึ่งโลกล่มสลายลงเอง โดยไม่ใช่ความผิดของเรา อะไรจะเกิดขึ้นตามมา? นั่นแหละคือสิ่งที่ริชาร์ดเรียกว่า "เมลท์ดาวน์" เขาบอกว่า ในทางวิทยาศาสตร์นั้นเกิดขึ้นได้ โดยเฉพาะจากสาเหตุของการเกิดไฟกระชากแรงมาก ๆ หรือเกิดจาก "พายุสุริยะ" ปรากฏการณ์ธรรมชาติของดวงอาทิตย์ แต่ต้องขนาดใหญ่มากกว่าที่เคยเกิดอยู่บ่อย ๆ มากครับ

9.โคลนนิ่ง

คงเป็นเรื่องหายนะของโลกได้อย่างแน่นอน ถ้าหากมีผู้นำเอาเทคโนโลยีโคลนนิ่งไปใช้ในทางที่ผิด หรือในทางด้านการทหาร

10.นาโนบ็อท

นักวิทยาศาสตร์พยายามใช้ประโยชน์จากนาโนเทคโนโลยี เพื่อให้ทำในสิ่งที่เหลือเชื่อได้ในทางการแพทย์และอื่น ๆ อย่างเช่นการสร้างหุ่นยนต์นาโนขึ้นมาให้สามารถ "จำลอง" ตัวเองขึ้นมาใหม่ได้ เพื่อทำหน้าที่รักษาอาการเจ็บป่วยในร่างกายที่แพทย์เข้าไม่ถึง

ริชาร์ด ฮอร์น บอกว่า หายนะอาจมาเยือนโลกได้ในอนาคตหากมันไม่ยอมหยุดสร้างตัวเอง กองทัพนาโนบ็อทที่พร้อมจะกลืนกินทุกอย่างที่ขวางหน้าจะกลืนกินโลกทั้งโลกได้เลย

ไม่รู้ว่าใน 10 อย่างนี้จะมีคนเห็นด้วยมากน้อยแค่ไหน แต่อย่างน้อยที่สุด ข้อสังเกตของ ริชาร์ด ฮอร์น บอกเราได้อย่างหนึ่งว่า ทุกอย่างมีสองด้านเสมอ การใช้เทคโนโลยีนั้นจำเป็นต้องพอดีและมีสติยั้งคิด

ไม่เช่นนั้นอาจกลายเป็นการทำลายตัวเองได้ง่าย ๆ ครับ!


images คลิกอ่านความคิดเห็นของเพื่อนๆ ได้ที่นี่ค่ะ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก